บทความ

เข้าใจวิธีหยุดยานอนหลับและยาคลายเครียดอย่างปลอดภัย

เลิกยานอนหลับอย่างไร

ความเครียดสะสมจากปัญหารอบด้านอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ใครหลายคนนอนไม่หลับ นานวันเข้า การนอนไม่หลับในบางคืนก็อาจสะสมกลายเป็นปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง จนทำให้หลายคนต้องพึ่งพายานอนหลับอยู่เป็นประจำ

อย่างไรก็ดี การใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกาย สุขภาพการนอน รวมไปถึงความแข็งแรงของสุขภาพใจในระยะยาวได้ สำหรับใครที่มีปัญหาการนอนไม่หลับสะสมเป็นเวลานาน และกำลังมองหาวิธีหยุดยานอนหลับและยาคลายเครียดแขนงต่าง ๆ อย่างปลอดภัย ลองมาทำความเข้าใจทุกเรื่องเกี่ยวกับการเลิกยานอนหลับที่นำมาฝากในวันนี้กัน

โรคนอนไม่หลับร้ายแรงแค่ไหน?

โรคนอนไม่หลับ คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีปัญหาในการนอนหลับ เริ่มตั้งแต่การใช้เวลาเพื่อเริ่มนอนหลับนานขึ้น ไม่มีอาการง่วง ใช้เวลาในการนอนหลับที่น้อยกว่า 4 – 6 ชั่วโมงจนร่างกายเข้าสู่สภาวะอดนอน นอกจากนี้ การมีปัญหาตื่นกลางดึก หรือนอนต่อไม่ได้หากตื่นขึ้นมากลางดึก ก็เป็นสัญญาณของโรคนอนไม่หลับเช่นกัน

หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา อาการนอนไม่หลับอาจพัฒนากลายเป็นโรคนอนไม่หลับ ทำให้มีคุณภาพชีวิตในช่วงที่ตื่นน้อยลง ซึ่งอาจแสดงออกได้จากอาการอ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการทำงานและการเรียน ไปจนถึงใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการเหม่อลอยบางครั้ง หรือบางคนอาจมีอาการเซื่องซึมไปเลยก็เป็นได้

นอกจากนี้ การนอนไม่หลับติดต่อกันอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบร่างกายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ทั้งยังทำให้อัตราการหลั่ง Growth Hormone ไม่สมดุล ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพตามมา และอาจทำให้สุขภาพใจอ่อนแอลงได้เช่นกัน

เข้าใจ “ยานอนหลับ” ก่อน

จะเห็นได้ว่า การนอนไม่หลับนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพอย่างรอบด้าน ทั้งยังส่งผลให้สุขภาพใจอ่อนแอลงได้ นอกจากนี้ การนอนไม่หลับในแต่ละคืนยังสร้างความทรมานให้แก่ใครหลายคนเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ คนจำนวนไม่น้อยจึงตัดสินใจเลือกใช้ “ยานอนหลับ” เป็นตัวช่วยเพื่อให้หลับสบายมากยิ่งขึ้น

ยานอนหลับคืออะไร?

“ยานอนหลับ” คือ ยาที่มีฤทธิ์ช่วยทำให้นอนหลับ ทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยคลายความวิตกกังวลและความเครียดได้ เมื่อทานเข้าไปแล้วจะรู้สึกได้ถึงอาการง่วงซึมและค่อย ๆ หลับลงไป โดยส่วนใหญ่ตัวยาจะไม่ออกฤทธิ์ให้หลับไปในทันที เหมือนกับในละครหรือภาพยนตร์ที่พบเห็นได้ทั่วไป

ยานอนหลับมีกี่ประเภท?

การเลิกยานอนหลับที่มีประสิทธิภาพจำเป็นที่ต้องเข้าใจถึงการออกฤทธิ์ของยานอนหลับแต่ละประเภทก่อน โดยทั่วไปแล้ว ยานอนหลับจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วย

  1. ยากลุ่ม Benzodiazepine (BZD) 

เป็นที่ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า GABA ที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น มีทั้งแบบออกฤทธิ์สั้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว และออกฤทธิ์ยาวที่ใช้เวลาช้าและมีความแรงที่น้อยกว่า 

ตัวอย่างยา : Lorazepam, Clonazepam, Diazepam และ Alprazolam

  1. ยากลุ่ม Non-Benzodiazepine (non-BZD)

เป็นยานอนหลับที่มีกลไกคล้ายกับยากลุ่ม Benzodiazepine แต่จะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทียาวนานถึง 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ ตัวยาประเภทนี้ยังพบภาวะดื้อยาและติดยานอนหลับที่น้อย

ตัวอย่างยา : Zolpidem และ Zopiclone

  1. ยากลุ่มต้านเศร้า (Antidepressants) 

เป็นตัวยาสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมถึงโรคไมเกรน ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่สารสื่อประสาท ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับ ตัวยาประเภทนี้มีความอันตรายสูง ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น

ตัวอย่างยา : Trazodone

  1. ยากลุ่ม Melatonin สังเคราะห์

เป็นตัวยานอนหลับที่เลียนแบบการหลั่งสารเมลาโทนินที่ช่วยให้นอนหลับ นิยมใช้ในผู้สูงอายุที่มีการหลั่งเมลาโทนินน้อย หรือ ผู้ที่ต้องเปลี่ยนที่อยู่อาศัย หรือการทำงานไปตาม Timezone ที่แตกต่างกันบ่อย

ผลข้างเคียงของยานอนหลับ

ยานอนหลับแต่ละกลุ่มมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หงุดหงิด หรือง่วงซึมได้ อย่างไรก็ดี การใช้ยานอนหลับติดต่อกันในปริมาณที่สูงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยากลุ่ม Benzodiazepine (BZD) อาจทำให้เกิดอาการติดยานอนหลับ และทำให้เลิกยานอนหลับได้ยาก 

หากตัดสินใจเลิกยานอนหลับกลุ่ม Benzodiazepine แบบหักดิบจะทำให้เกิดอาการถอนยาที่รุนแรง เช่น วิตกกังวล หงุดหงิด  มีอาการซึมเศร้า หรืออาจเกิดเป็นภาวะนอนไม่หลับมากขึ้น หรือ Rebound Insomnia ได้

วิธีหยุดยานอนหลับและยาคลายเครียด

4 วิธีหยุดยานอนหลับและยาคลายเครียดเบื้องต้น

ถึงจะดูเป็นเรื่องยากและต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่สามารถบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีหยุดยานอนหลับและยาคลายเครียดอย่างถูกต้องอยู่ สามารถเริ่มต้นได้ด้วย 4 ขั้นตอนพื้นฐานที่นำมาฝาก ดังนี้

1. อย่าเลิกเอง ปรึกษาแพทย์ก่อน

การเลิกยานอนหลับแบบหักดิบสร้างความทุกข์ทรมานให้ร่างกายและจิตใจ ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับมากกว่าเดิม จนต้องกลับไปใช้ยานอนหลับใหม่ได้ 

ดังนั้น เพื่อเป็นการเลิกยานอนหลับที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจ ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการลดยานอนหลับก่อน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาประเภทกลุ่มยา ผลข้างเคียง พร้อมช่วยวางแผนการลดยานอนหลับที่ถูกต้องและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

2. เข้าใจอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากเลิกยานอนหลับ

“ความวิตกกังวล” ถือเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ทำให้หลายคนเลิกยานอนหลับไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่า หากไม่ได้รับยานอนหลับก็จะไม่สามารถนอนหลับได้ แต่นอกจากความวิตกกังวลแล้ว การหยุดยานอนหลับก็อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมองได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยให้เข้าใจอาการวิตกกังวลและหงุดหงิด รวมไปถึงช่วยสนับสนุนให้ระบบประสาทและสมองปรับตัวสำหรับการนอนหลับ ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมค่อย ๆ ลดปริมาณของยานอนหลับที่รับประทานตามแผนที่แพทย์กำหนด ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยลดอาการถอนยาที่ทำให้เกิดความทรมานต่อร่างกายและจิตใจ พร้อมเพิ่มคุณภาพการนอนหลับที่ดีในอนาคตได้

3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

นอกจากความเครียดแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนนอนไม่หลับเช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยให้เลิกยานอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนหลับด้วย เช่น ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน งดเครื่องดื่มคาเฟอีนหลังเที่ยง ลดน้ำตาล งดการกินอาหารมื้อดึก พร้อมปรับเวลานอนให้เร็วขึ้น เช่น ปกตินอนหลังเที่ยงคืนให้ค่อย ๆ ปรับมาเป็นช่วงเที่ยงคืน 5 ทุ่ม และ 4 ทุ่มไปเรื่อย ๆ เป็นต้น

4. ฝึกเทคนิคลดความเครียด

สำหรับใครมีปัญหาการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากความเครียด อย่าลืมใช้เวลากับตัวเองเพื่อสำรวจสาเหตุของความเครียด จากนั้นจึงเลือกวิธีการผ่อนคลาย เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิ การปรับวิธีหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อรับคำปรึกษา และจิตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาสุขภาพใจควบคู่ไปกับการลดและเลิกยานอนหลับที่ถูกต้อง

ก่อนนอนคืนนี้ สร้าง “อารมณ์สบาย” ด้วย “Sabai arom” ดีกว่า!

การเลิกยานอนหลับเป็นขั้นตอนที่อาศัยเวลาและความอดทน แต่หากปฏิบัติตามแผนและอยู่ในความดูแลของแพทย์ ไม่ช้าไม่นานก็จะสามารถบอกลายาประเภทต่าง ๆ และสามารถกลับมานอนหลับได้ด้วยตัวเองอีกครั้ง 

สำหรับในช่วงที่กำลังเลิกยานอนหลับ หากใครกำลังมองหาตัวช่วยคลายอารมณ์ตามหลัก Aromatherapy เพื่อการนอนหลับที่ผ่อนคลายมากขึ้น Sabai arom มาพร้อมกับสเปรย์น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยการนอนหลับของคุณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สเปรย์นอนหลับ Sleep Well Pillow Mist จาก Sabai arom มาพร้อมการผสมผสานน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ (Lavender), คาโมมายล์ (Chamomile), ยูคาลิปตัส (Eucalyptus), ส้ม (Sweet Orange), กระดังงา (Ylang Ylang) และมะกรูด (Bergamot) เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นตลอดทั้งคืน สอบถามการใช้งานและรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 097-264-2401